CATEGORIES
MENU

การดูแลบำรุงรักษา Air-Compressor ด้วยชุดกรองลม ทำได้ไม่ยาก

การดูแล บำรุงรักษา ปั๊มลม

ปั๊มลมหรือAir Compressor นั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องมืออีกประเภทหนึ่ง ที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราอย่างมากมาย เนื่องจากว่าถ้าหากเราต้องการที่จะใช้เครื่องมือประเภทใดก็แล้วแต่ ที่จำเป็นที่จะต้องใช้ลมอัดแรงดันสูง ยกตัวอย่างเช่น กระบอกลม ปืนลม หรืออุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ในระบบนิวเมติกส์ต่างๆ เราก็จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทำหน้าที่ผลิตลมอัดแรงดันสูงให้กับเราด้วย ซึ่งหน้าที่ในการผลิตลมอัดแรงดันสูงก็จะหนีไม่พ้น ปั๊มลม หรือ air compressor

จริงๆแล้ว ปั๊มลมหรือแอร์คอมเพรสเซอร์ นั้นก็จะมีลักษณะการทำงานหรือใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าปั๊มลมที่เราใช้งานอยู่นั้นเป็นปั๊มลมประเภทใด เหมาะกับการใช้งานในลักษณะไหน แบบนี้เป็นต้น

เมื่อปั๊มลมหรือแอร์คอมเพรสเซอร์มีการใช้งานไปในระยะหนึ่งแล้วผู้ที่ใช้งานปั๊มลมควรที่จะต้องมีการดูแลหรือบำรุงรักษา เพราะว่าการดูแลหรือบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ปั๊มลมหรือแอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจะซื้อปั๊มลมชุดใหม่ให้กับเราได้อีกทางหนึ่งด้วย

ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ วิธีดูแลและบำรุงรักษาปั๊มลม ด้วยวิธีง่ายๆ กันค่ะ:

วิธีดูแลบำรุงรักษาปั๊มลม+ยืดอายุการใช้งาน ด้วยชุดกรองลมดักน้ำ F.R.L

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้ลงบทความเกี่ยวกับ ประโยชน์ของชุดกรองลม ในการยืดอายุการใช้งานปั๊มลมไปบ้างแล้ว หากท่านใดต้องการอ่านเพิ่มเติม ก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้น่ะค่ะ ส่วนข้อมูลด้านล่างนี้จะเป็นเนื้อหาที่เก็บตกและอยากนำมาเล่าให้ฟังกันอีกสักเล็กน้อยค่ะ

1 - ก่อนที่ท่านจะนำปั๊มลมออกไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานภายในบ้านหรือการใช้งานนอกสถานที่ ท่านจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบอุปกรณ์ยิบย่อยรอบๆปั๊มลม ว่าถูกติดตั้งหรือทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น น็อตที่ยึดระหว่างอุปกรณ์ใดๆ บนตัวปั๊มลม จะต้องอยู่ในสภาพที่แน่นทุกตัว(ไม่ขันจนตึงเกินไป) โดยน๊อตดังกล่าวนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนหลักๆ ที่จำเป็นจะต้องตรวจสอบอย่างเป็นประจำก็คือ น๊อตที่ยึดมู่เล่ย์ และน๊อตที่ยึดตัวมอเตอร์ของปั๊มลม ถ้าหากเราพบว่าน๊อตในสองส่วนนี้รหลวมหรือคลายออกมา ให้ท่านทำการขันน็อตตัวที่หลวมให้แน่น ก่อนนำปั๊มลมออกไปใช้งานทุกครั้ง เพราะว่าถ้าหากว่าน๊อตในส่วนต่างๆหลวมแล้ว ก็จะทำให้อุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ในปั๊มลมทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าอายุการใช้งานของปั๊มลมของเราย่อมสั้นลงอย่างแน่นอนค่ะ

2 - ภายในปั๊มลมทุกตัวจะมีมอเตอร์และสายพาน ซึ่งมอเตอร์ก็จะทำหน้าที่ในการขับสายพานให้หมุนเพื่อที่แรงหมุนดังกล่าวจะเข้าไปกระตุ้นให้กระบอกสูบที่อยู่ในปั๊มลมทำงานและอัดแรงดันอากาศสูงให้กับเราอีกครั้งหนึ่ง การตรวจสอบสายพานและมอเตอร์นั้นสามารถทำได้ง่ายๆก็คือ สายพานของปั๊มลมจะต้องไม่หย่อนหรือตึงจนเกินไป โดยเราสามารถใช้นิ้วมือกดลงบนสายพานเพื่อเช็คความตึงหรือหย่อนได้ โดยปกติแล้วระยะของสายพานจะต้องมีความหย่อนอยู่ระหว่าง 10 ถึง 15 mm.  ซึ่งถ้านอกเหนือจากนี้ท่านจำเป็นที่จะต้องนำประแจมาทำการปรับสายพานให้มีระยะตึงหย่อนให้พอดี อีกตั้งสายพานจะต้องไม่มีรอยแตกหรือเป็นร่องที่สามารถมองเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าสายพานมีรอยแตกหรือกรอบนั้นก็แสดงว่า สายพานปั๊มลมของท่านนั้น ใกล้ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนเส้นใหม่แล้วนั่นเอง

ในส่วนของมอเตอร์ของปั๊มลมนั้นถ้าหากว่าเรามีการดูแลและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอแล้วโอกาสที่มอเตอร์ปั๊มลมของท่าน จะชำรุดหรือเสียหายนั้นมีน้อยมาก การตรวจสอบมอเตอร์ของปั๊มลมนั้นก็สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆยกตัวอย่างเช่น ฟังเสียงและรอบการหมุนของมอเตอร์ว่าสามารถหมุนได้ปกติหรือไม่เพราะถ้าหากว่าเรามีกันปรับแต่งสายพานของมอเตอร์ให้อยู่ในระดับที่พอดีแล้วมอเตอร์ก็จะหมุนได้อย่างปกติ ไม่มีเสียงดังรบกวนที่สามารถฟังได้ชัด ซึ่งถ้าหากว่ามอเตอร์มีเสียงดังจนเกินไปก็แสดงว่ามอเตอร์ของเรานั้นมีปัญหาในเรื่องของ ลูกปืนที่อยู่ส่วนหน้าและส่วนของพัดลมด้านหลังของมอเตอร์ ซึ่งถ้าหากว่ามอเตอร์มีเสียงดังจนเกินไปให้ท่านตรวจสอบชุดลูกปืน 2 ชุดดังกล่าวว่าชำรุดหรือไม่ถ้าชำรุดก็แนะนำให้เปลี่ยนชุดลูกปืนเป็นชุดใหม่ ซึ่งชุดลูกปืนนานเมื่อเทียบกับราคาของมอเตอร์ปั๊มลมแล้วถือว่าถูกกว่ามากดังนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องเสียดายหรือปล่อยให้ปั๊มลมของเรามีมอเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

3 - เมื่อเรานำปั๊มลมออกไปใช้งานในสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นภายในบ้านของเราเองหรือว่านอกสถานที่ เราไม่ควรที่จะวางปั๊มลมในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือบริเวณพื้นที่ที่มีความร้อนสูงเช่นกลางแดด อีกทั้งไม่ควรที่จะนำปั๊มลมไปจอดไว้ในที่ที่มีน้ำหรือความชื้นเข้าถึงได้ง่าย โดยไอน้ำและความชื้นนี้จะเป็นปัญหาหลักของการเกิดสนิมและสิ่งสกปรกที่อาจจะลอยเข้าไปติดในถังเก็บลมของปั๊มลมเราได้ ซึ่งถ้าหากท่านไม่มี ชุดกรองลม สำหรับปั๊มลมแล้ว เป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีอากาศร้อนหรือพื้นที่ที่มีความชื้นสูงค่ะ

4 - ถ้าหากท่านต้องการให้ปั๊มลมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าปกติ ท่านสามารถที่จะนำ ชุดกรองลมแบบต่างๆ มาช่วยกรองอากาศให้มีคุณภาพ และสะอาดก่อนที่จะนำเข้าไปเก็บไฟภายในถังเก็บลมของปั๊มลมก่อนได้ ซึ่งชุดกรองลมที่จะแนะนำนั้นก็จะมีด้วยกันหลักๆอยู่ 2 แบบก็คือ ชุดกรองลม ดักน้ำ ปรับแรงดันลม 3 ตัวเรียง F.R.L  และ ชุดกรองลมดักน้ำ 2 ตัวเรียง FR.L  ซึ่งชุดกรองลมทั้ง 2 แบบนี้จะช่วยกรองลมจากภายนอกให้มีความสะอาด ลดสิ่งสกปรกและแปลกปลอมออกจากอากาศ ทำให้อากาศที่จะนำเข้าไปเก็บไว้ในถังเก็บลมนั้นมีความสะอาดมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วบางท่านอาจจะรู้จักกันในชื่อของ ชุดกรองลม ดักน้ำ F.R.L ซึ่ง  F ก็คือ  Filter(กรอง), R คือ Regulator(ปรับแรงดัน) และ L คือ Lubricator(จ่ายน้ำมันหล่อลื่น) และนิยมใช้รุ่นนี้มากกว่ารุ่น 2 ตัวเรียงหรือ FR.L ค่ะ

ชุดกรองลม F.R.L

รูปตัวอย่าง ชุดกรองลม ดักน้ำ F.R.L

  • F (Filter) นั้นจะทำหน้าที่กรองอากาศให้มีความสะอาด ไม่มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกปะปนอยู่ในอากาศ
  • R (Regulator) นั้นจะทำหน้าที่ปรับแรงดันลมให้มีความเหมาะสมทั้งก่อนและหลังนำไปใช้งาน
  • L (Lubricator) จะทำหน้าที่จ่ายน้ำมันหล่อลื่นเข้าไปผสมในลมอัดหรืออากาศ เพื่อช่วยหล่อลื่นให้อากาศหรือนมอัดนั้นเดินทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ท่อหรือวาล์วและลูกสูบของปั๊มลมมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น ไม่เกิดสนิมภายใน และแน่นอนว่าช่วยยืดอายุของอุปกรณ์ดังกล่าวให้ยาวนานขึ้นอีกด้วย

5 - โดยปกติแล้วปั๊มลมหรือ air compressor ทั่วไปจะมีน้ำมันเครื่องอยู่ทุกตัว ซึ่งน้ำมันเครื่องนี้จะช่วยหล่อลื่นให้ลูกสูบ และวาล์วหรือท่อที่อยู่ภายในปั๊มลม ให้ทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น การตรวจสอบระดับของน้ำมันเครื่อง เราสามารถที่จะเช็คได้จากตาแมวของปั๊มลม โดยระดับของน้ำมันเครื่องจะต้องอยู่ในระดับที่กำหนดไว้ในคู่มือของปั๊มลมยี่ห้อหรือรุ่นนั้นๆ ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไปค่ะ

6 - หากเป็นไปได้แล้ว เราควรมีการใช้งานปั๊มลมทุกวัน หรืออย่างน้อย เราจำเป็นที่จะต้องนำปั๊มลมออกมาเดินเครื่องทิ้งไว้ ในกรณีที่ไม่ได้นำปั๊มลมออกไปใช้งานในระยะเวลานานๆ การเดินเครื่องปั๊มลมนั้นเราสามารถเปิดปั๊มลมทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ซึ่งการเดินเครื่องปั๊มลมนี้จะช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆของปั๊มลมที่อยู่ภายในไม่ว่าจะเป็นวาล์วท่อหรือลูกสูบทำงานได้อย่างคงที่และพร้อมใช้งานสม่ำเสมอ อีกทั้งยังเรายังสามารถตรวจเช็คการทำงานในเบื้องต้นของปั๊มลมก่อนนำออกไปใช้งานจริงได้อีกด้วย

7 - ควรตรวจสอบความเข้มหรือคุณภาพความหนืดของน้ำมันเครื่องปั๊มลม อยู่สม่ำเสมอซึ่งรอบในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในคู่มือของปั๊มลม ถ้าหากสีของน้ำมันเครื่องมีความเข้มหรือขุ่นมากเกินไปเราควรที่จะซื้อน้ำมันเครื่องมาเปลี่ยนใหม่ โดยรอบการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนั้นขึ้นอยู่กับว่าปั๊มลมของเรามีขนาดและรุ่นใดโดยปกติแล้วระยะการถ่ายน้ำมันเครื่องนั้นจะอยู่ที่ทุกๆ 500 ถึง 700 ชั่วโมง และแน่นอนว่าควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้ถูกต้องตามคู่มือที่ได้กำหนดไว้จากผู้ผลิต

สุดท้ายคือ ถ้าหากเราต้องการให้ปั๊มลมของเราอยู่กับเราได้นานๆ เราก็จะต้องหมั่นดูแลบำรุงรักษาให้สม่ำเสมอ และถูกวิธีด้วยค่ะ ซึ่งจากวิธีด้านบนนั้นก็เป็นอีก วิธีดูแลบำรุงรักษาปั๊มลม ด้วยชุดกรองลมดักน้ำ F.R.L แบบง่ายๆ สามารถทำตามได้ในทันทีค่ะ