CATEGORIES
MENU

ระบบลมอัดสะอาดง่ายๆด้วย ชุดกรองลมดักน้ำรุ่น GF, GL Series

ในขั้นตอนการเตรียมลมอัดสำหรับงานนิวเมติกหรือไฮดรอลิคโดยทั่วไปนั้น เราสามารถทำได้หลายวิธี อีกทั้งเรายังสามารถนำอุปกรณ์ดักน้ำในระบบลมอัด/ควบคุมคุณภาพลมแบบต่างๆ มาช่วยในการปรับปรุงคุณภาพลมอัดก่อนที่จะนำไปใช้งานให้กับระบบของเราได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้อุปกรณ์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจะรู้จักกันในชื่อของ ชุดกรองลม ปรับปรุงคุณภาพลมอัด โดยอุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะเป็นผู้ช่วยในการปรับปรุงลมอัดของเราให้มีความสะอาด และบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น

ครั้งที่แล้วผู้เขียนก็ได้ลง รีวิวเกี่ยวกับข้อมูลของ ชุดกรองลมดักน้ำรุ่น GFC Series ไปบ้างแล้ว ซึ่งภายในเนื้อหาของรีวิวดังกล่าว ก็จะเกี่ยวโยงกับข้อมูลของรุ่น GFR series ด้วย ถ้าหากท่านใดสนใจใน 2 รุ่นนี้ก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ ส่วนหัวข้อหลักของรีวิวนี้ก็จะเน้นเกี่ยวกับรุ่น GF และชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL series เท่านั้น และรายละเอียดจะมีอะไรบ้างที่น่าสนใจ เราไปดูกันต่อเลยค่ะ

ตัวกรองลมดักน้ำ GF Series กรองละเอียดไปอีกขั้น

ตัวกรองลมดักน้ำ GF Series

จุดเด่นของชุดกรองลมรุ่นนี้ก็จะเป็นในเรื่องของ การหมุนเวียนอากาศใหม่ๆ ให้ระบบของเราได้อย่างราบเรียบและสม่ำเสมอ (ในขณะที่ไหลผ่านชุดกรอง หรือในช่วงที่ชุดกรองทำงาน) อีกทั้งยังสามารถแยกของเหลว/ของไหลออกจากลมอัดของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้กับรุ่นอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นไอน้ำ ความชื้น ฝุ่นละออง หรือเศษเม็ดพลาสติกต่างๆ(ที่อาจจะมองไม่เห็นด้วยสายตา) ตัวกรองลมดักน้ำรุ่นนี้ถือว่าทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ

ในเรื่องของแรงดันที่สูญเสียไปในขณะทำงาน ก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้จากการทำงาน

ในส่วนของคุณภาพหรือเกรดการกรองลม ก็จะมีให้เลือกอยู่ 2 แบบหลักๆ เหมือนกับชุดกรองลมรุ่นพี่อย่าง GFR หรือ GFC นั่นก็คือ 5 ไมครอน และ 40 ไมครอน(อุปกรณ์เสริม)

ส่วนเรื่องของการระบายน้ำหรือเดรนน้ำออกจากตัวกรองนั้น ก็มีให้เลือกอยู่ 3 แบบคือ แบบระบายด้วยมือ(Manual Drain), กึ่งอัตโนมัติ(Semi-Auto Drain) และแบบอัตโนมัติ(Auto Drain) แต่จะมีเพียงบางรุ่นเท่านั้นที่ไม่มีการเดินแบบอัตโนมัติ เช่น รุ่นน้องเล็กสุดอย่างรุ่น GF200-xx ค่ะ

ในรุ่น GF Series นี้จะรองรับอัตราการไหลได้ตั้งแต่ 3,000 ลิตรต่อนาที ไปจนถึง 12,000 ลิตรต่อนาที พร้อมแรงดันสำหรับการใช้งานอยู่ระหว่าง 0.15 ~ 0.9 MPa ในเรื่องของเกลียวนั้นจะมีขนาดเกลียวให้เลือกใช้ตั้งแต่ 1/8" ไปจนถึง 1"

ในส่วนของรุ่นย่อยๆ นั้นก็จะมีให้เลือกอยู่หลายรุ่นด้วยกันดังนี้ GF200-10, GF200-10, GF300-10, GF300-10, GF300-15, GF400-10, GF400-15, GF600-20 และรุ่น GF600-25

สุดท้ายในเรื่องของอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยในการติดตั้ง ในรุ่น GF Series นี้ก็จะอุปกรณ์เสริม(Bracket) สำหรับการติดตั้งมาให้ด้วย อีกทั้งยังมีขายึด(J:รุ่นมาตรฐาน) ที่ช่วยทำให้การติดตั้งในรูปแบบต่างๆ เป็นไปได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

คุณสมบัติ/สเปคพื้นฐานรุ่น GF Series:

คุณสมบัติพื้นฐาน ตัวกรองลมดักน้ำ GF Series

ตัวอย่าง ordering code:

ordering code ตัวกรองลมดักน้ำ GF Series

สัญลักษณ์/symbol:

สัญลักษณ์ตัวกรองลมดักน้ำ GF Series

ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL Series ช่วยยืดอายุอุปกรณ์ในระยะยาว

ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL Series

ถ้าท่านใดกำลังมองหาชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่น Lubricator ไว้ใช้งานในระบบนิวเมติกส์แล้วล่ะก็ ชุดจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL จากค่าย airtac นี้นับได้ว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยค่ะ คุณสมบัติเด่นๆ โดยทั่วไปมีด้วยกันดังนี้:

1. รูปแบบการจ่ายน้ำมันหล่อลื่นจะอยู่ในลักษณะของหยด ซึ่งข้อดีก็คือจะทำให้การปรับตัวของน้ำมันนั้นมีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการหล่อลื่นให้กับอุปกรณ์มากยิ่งขึ้น

2. การฉีดจ่ายน้ำมันจะอยู่ในลักษณะของวงแหวน การเคลื่อนของน้ำมันหล่อลื่นจะเคลื่อนที่แบบเชิงเส้น(Linear)

3. โครงสร้างของหัวฉีดจะถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ สามารถลดไอน้ำมันในขณะฉีด/หยดน้ำมันออกจากหัวฉีดได้อย่างดีเยี่ยม

4. สามารถเติมน้ำมันหล่อลื่นเข้าไปในชุดในขณะที่กำลังทำงานอยู่ได้

5. มีอุปกรณ์เสริม(bracket) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตั้งให้ด้วย

สเปค/ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของชุดจ่ายน้ำมันรุ่น GL Series:

สเปคตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL Series

ตัวอย่าง ordering code ชุดจ่ายน้ำมันรุ่น GL:

ordering code ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL Series

สัญลักษณ์/symbol ของตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL:

สัญลักษณ์ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นรุ่น GL Series

การติดตั้งและใช้งานทั้ง 2 รุ่นนี้:

1. ถ้าท่านสั่งซื้ออุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งจากอินเตอร์เน็ต หรือเป็นสินค้าที่มีการจัดส่งจากนอกพื้นที่(ที่ไม่สามารถไปรับได้ด้วยตนเอง) ควรตรวจสอบสภาพของสินค้าหลังจากที่ได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้ว ยกตัวอย่างเช่นรอยบุบ รอยแตกหรือร้าวของอุปกรณ์/ชิ้นส่วนย่อยก่อนนำไปประกอบติดตั้งและใช้งาน

2. ทิศทางการไหลของอากาศควรที่จะมีทิศทางไปทางด้านขวามือ

3. ตรวจสอบข้อมูลและเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการติดตั้ง ยกตัวอย่างเช่นความดันในการทำงาน อัตราการไหลที่รับได้ ช่วงอุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ปรกติ ตลอดจนคำแนะนำอื่นๆที่คู่มือได้กำหนดไว้

4. หลีกเลี่ยงการนำอุปกรณ์ไปติดตั้งในพื้นที่ที่เสี่ยงหรือทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ลดลง เช่นสารเคมีหรืออุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไป

5. มีการบำรุงดูแลรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ

6. หากไม่ต้องการใช้งานอุปกรณ์แล้ว ควรถอดอุปกรณ์ออกและเก็บให้มิดชิดเช่นใช้ผ้าสะอาดห่อหุ้มอุปกรณ์ไว้

ทิ้งท้ายรีวิว

อย่างที่หลายๆท่านทราบค่ะว่าในขั้นตอนการเตรียมลมอัด หากเรามีการเลือกใช้งานอุปกรณ์ดักน้ำในระบบลมหรืออุปกรณ์ประเภทควบคุมคุณภาพลมอัดได้อย่างเหมาะสม ติดตั้งอย่างถูกวิธี และดูแลบำรุงรักษาให้สม่ำเสมอแล้วล่ะก็ แน่นอนค่ะว่าประสิทธิภาพที่เราจะได้จากระบบหรืออุปกรณ์เหล่านั้นย่อมมีมากขึ้นนั่นเอง ชุดกรองลม ปรับปรุงคุณภาพลม เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะทำให้ขั้นตอนยุ่งยากต่างๆ ลดน้อยลงไป สิ่งสำคัญก็คือเลือกใช้ให้เหมาะสมแค่นั้นเองค่ะ ส่วนหัวข้อถัดไปจะเป็นในส่วนของ ชุดกรองลมดักน้ำรุ่นใหม่ล่าสุด GC และ GR Series เอาไว้เจอกันใหม่นะค่ะ สวัสดีค่ะ