CATEGORIES
MENU

ความรู้เบื้องต้นระบบนิวแมติก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ระบบนิวเมติก แบบทั่วไป

คุณสมบัติของระบบนิวเมติก เมื่อเปรียบเทียบกับไฮดรอลิกนั้น จะมีหลายอย่างที่ใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากระบบนิวเมติกและระบบไฮดรอลิกนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งเป็นลักษณะของ พลังงานของไหล เหมือนกัน เมื่อนำเอาระบบนิวเมติกเปรียบเทียบกับระบบโฮดรอลิก เราจะทราบถึงข้อแตกต่างกันของสองระบบได้ดังนี้:

  1. ความดันใช้งานของลมอัดในระบบนิวเมติกมีค่าอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 บาร์ แต่ถ้าต้องการความดันใช้งานสูงกว่านี้ก็ได้แต่ไม่เกิน 10 บาร์ ซึ่งน้อยกว่าความดันใช้งานของระบบไฮดรอลิกมาก จึงเหมาะกับการใช้การงานเบาๆ เท่านั้น
  2. ลมอัดมีการยุบตัวมากกว่าน้ำมันในระบบไฮดรอลิก ดังนั้นเมื่อมีการหยุดค้างตำแหน่งในระหว่างระยะชักจึงไม่ดีเท่าที่ควร
  3. ความต้านทานการไหลของลมอัดในท่อทางส่งมีค่าน้อยกว่าความต้านทานการไหลของน้ำมันในระบบไฮดรอลิก จึงสามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว
  4. ระบบนิวแมติกมีความสะอาดมากกว่าระบบไฮดรอลิกมาก เพราะระบบไฮดรอลิกมีการรั่วไหลของน้ำมันเกิดขึ้น และอาจเกิดอันตรายจากการติดไฟของน้ำมันได้
  5. โดยทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมมักจะใช้ลมอัดใช้งาน ประเภทอื่นอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเป็นการสะดวกที่จะนำเอาระบบนิวแมติกมาใช้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเดินท่อทางส่งลมอัดมีราคาถูกกว่า ถ้าต้องการจะนำเอาระบบไฮดรอลิกมาใช้ในโรงงาน จะต้องหาปั๊มไฮดรอลิกมาใช้งาน และค่าใช้จ่ายในการเดินท่อทางส่งน้ำมันไฮดรอลิกมีราคาสูงมาก
  6. ระบบนิวแมติกสามารถใช้งานในขณะที่อุณหภิมของลมอัดสูงได้ถึง 160 องศา โดยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและอุปกรณ์ทำงาน ส่วนในระบบไฮดรอลิก น้ำมันที่ใช้ในการส่งถ่ายจะมีอุณหภูมิสูงไม่เกิน 70 องศา
  7. ระบบนิวเมติกส์นั้นมีอุปกรณ์นิวเมติกที่หลากหลายกว่า ทำงานได้ยืดหยุ่นมากกว่าระบบหรืออุปกรณ์ไฮโดรลิคมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทหรือรูปแบบการใช้งานของอุปกรณ์ในระบบด้วย เช่น กระบอกลม สำหรับงานนิวเมติกส์ จะเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการควบคุมการทำงาน ส่วนกระบอกสูบในงานไฮโดรลิคจะเป็นอุปกรณ์สำหรับงานหนักๆ เช่น งานขุด เจาะถนนการจราจร เป็นต้น ซึ่งกระบอกสูบไฮโดรลิคนั้นจะต้องมีมนุษย์คอยควบคุมการทำงาน

เปรียบเทียบระบบนิวเมติก กับระบบหรือการทำงานแบบอื่นๆ

เนื่องจากในงานอุตสาหกรรม การบังคับการทำงานด้วยระบบกลไก ระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบไฮดรอลิก และระบบนิวแมติก ซึ่งแต่ละระบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยเราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่าง:
 
ตาราง PNEUMATIC - INTRO -1
 
 
รายละเอียดของระบบบังคับการทำงานด้วยระบบ 
กลไกไฟฟ้า /
อิเล็กทรอนิกส์
ไฮดรอลิกนิวแมติก 
ระบบขับเคลื่อน โครงสร้าง ค่อนข้างซับซ้อน ค่อนข้างซับซ้อน ค่อนข้างซับซ้อน ง่าย  
ความสามารถ ดีมาก ดีมาก ดี ดี แต่ต้องระวัง  
เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ง่าย ง่าย ยาก ง่าย  
เคลื่อนที่แบบหมุน ง่าย ง่าย ค่อนข้างยาก ค่อนข้างยาก  
กำลังขับ น้อย - มาก น้อย - มาก กลาง-มาก น้อย - กลาง  
การปรับกำลังขับ ยาก ยาก ง่าย ง่าย  
การบำรุงรักษา ง่าย ต้องใช้เทคโนโลยี ค่อนข้างง่าย ง่าย  
ความเร็วคงที่ ดีมาก ดี ดี ไม่คงที่ความดันต่ำ  
การรับภาระเกิน
กำหนด (overload)
ค่อนข้างยาก ยาก ค่อนข้างยาก ง่าย  
 
การเลือกรูปแบบ
การติดตั้ง
น้อย กลาง มาก มากกว่า  
 
การใช้อุปกรณ์ช่วยทำงาน
เมื่อขาดกระแสไฟฟ้า
ค่อนข้างจะ
เป็นไปได้
ยาก เป็นไปได้ เป็นไปได้  
 
 
 
 
ระบบการบังคับ
การส่งสัญญาณ ยาก ง่าย ค่อนข้างยาก ง่าย  
การป้องกันการติดไฟ ดี ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ดี